Saturday, September 11, 2010

ย้ายแล้วจ้า ไปสู่บ้านใหม่ใหญ่กว่าเดิม www.gooshares.com

ย้ายแล้วนะครับ ถ้าใครสนใจจะศึกษาการใช้โปรแกรมต่างๆในตระกูล Adobe ขอเชิญสู่บ้านใหม่ www.gooshares.com นะครับ

Sunday, August 22, 2010

ขอหยุดอัพชั่วคราวนะครับ

ช่วงนี้ ใครเข้ามาแล้ว ไม่เห็นอัพข้อมูไม่ต้องตกใจนะครับ คือผมจะขอหยุดอัพชั่วคราวเพื่อไปเปิดเวบไซต์แบบเต็มตัวครับ อดใจรออีกนิดนะครับ ไม่นานเกินรอครับ

Monday, August 16, 2010

Photoshop: White Teeth in Photoshop ยิ้มอย่างมั่นใจ ด้วยการทำฟันขาว

Photoshop: White Teeth in Photoshop ยิ้มอย่างมั่นใจ ด้วยการทำฟันขาว

   แหม่  วันนี้เข้าไปดูใน Youtube มา ก็ได้อะไรมาเยอะครับ  ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายๆ แต่ว่าได้ผลนัก ซึ่งผมมั่นใจว่า เพื่อนๆที่ยังไม่ชำนาญนัก ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ กับการทำให้ฟันขาวขึ้น  โดยผมได้นำ วีดีโอจาก youtube มาให้ดูกันครับ ซึ่งหากดูแล้ว เข้าใจทุกคนแน่นอนครับ (วิธีการทำอันไหน ที่เข้าใจง่าย แค่ดูวีดีโอก็ได้ ผมจะไม่เขียนรายละเอียดมากนะครับ แต่หากเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนซับซ้อน ผมจะอธิบายที่ละัขั้นตอนอย่างละเอียด ซึ่งหากเพื่อนๆคนไหน สนใจการปรับแต่งแบบไหน สามารถเมลมาบอกผมได้เลยครับ เดี๋ยวจัดให้)



ดูบทความอื่นๆของ Photoshop คลิก

Awesome Eyes in Photoshop (ปรับดวงตาให้คมชัด)

Awesome Eyes in Photoshop (ปรับดวงตาให้คมชัด)


   พอดี แอบไปดู youtube มา แล้วเห็นเทคนิค วิธีการปรับภาพดวงตาของเราในภาพถ่ายให้คมชัด เห็นแล้วหวั่นไหว เลยนำวีดีโอ มาให้เพื่อนๆให้ดูและลองทำกันดูครับ




ดูบทความอื่นๆให้ Photoshop คลิก

บทที่ 8 วิธี Save File งานใน Photoshop

วิธี Save File งานใน Photoshop

ทุกครั้งที่เราทำงานเสร็จ แน่นอนครับ เราต้อง Save อิอิ ซึ่งการเซพของ Photoshop นั้นจะมีหลายแบบ แต่ก็ไม่ทำให้งง ซึ่งหลักๆเลยจะมีอยู่ 2 แบบเท่านั้น เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

ไฟล์ประเภทต่างๆ ของ Photoshop

1. Save เป็น PSD ไฟล์ คือไฟล์มาตราฐานของ Photoshop ถ้าเราต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรูปภาพในครั้งต่อไป เราจำเป็นต้องบันทึก หรือ Save ในรูปแบบของ PSD เทานั้น Layer ต่างๆก็ยังอยู่ครยด้วย (การใช้งานเพียงคลิกเลือก File และคลิกคำสั่ง Save)   (วิธีเซพแบบนี้ จะไม่สามารถนำภาพไปใช้งานหรือโชว์คนอื่นได้ครับ แต่เป็นการเก็บงานต้นฉบับเอาไว้ เผื่อมีการแก้ไขครั้งต่อไป โดย .PSD สามารถเป็นได้กับโปรแกรม Photoshop เท่านั้นครับ )


2. Save for Web &Devices เป็นการบันทึกเพื่อใช้สำหรับใช้งานบนเว็บ หรือสื่่ออื่นๆ สามารถบันทึกเป็นไฟล์ประเภท Jpeg, GIF, PNG, WBMP เป็นต้น ไฟล์ที่ได้มีขนาดค่อนข้างเล็ก (การใช้งานให้คลิกเลือกเมนู File เลือกคำสั่ง Save for Web & Devices) (หากต้องการเซพเพื่อนำไปใช้งานแนะนำให้ใช้ข้อนี้ครับ ซึ่งเราสามารถกำหนดความละเอียดก่อนเซพได้ด้วย เพื่อนๆลองดูกันเอานะ ไม่ยากครับ)

3.ไฟล์ประเภทอื่นๆ เช่น Jpeg, PNG, TIFF, PCX, GIF เป็นต้น สามารถสั่งบันทึกได้โดยการเรียกใช้คำสั่งจากเมนู File เลือกคำสั่ง Save หรือ Save as (สำหรับข้อแตกต่างของการบันทึกด้วยวิธีนี้กับบันทึกด้วย Save For Web & Devices ก็คือ ไฟล์ที่บันทึกด้วย Save, Save as ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่า และคุณภาพสูงกว่า
สำหรับผู้ใช้งาน Photoshop เวอร์ชั่นเก่าๆ อาจไม่มีคำสั่ง Save for Web & Devices นะครับ

รอบนี้ก็เหมือนเดิมครับ เอา VDO จาก youtube มาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นกันด้วยครับ



อ่านบทความอื่นๆของ Photoshop คลิก

Friday, August 13, 2010

วันหยุดยาวขอหยุดอัพเดท ไปเที่ยวก่อนนะคร้าบ

วันหยุดยาว 12-15 สิงหาคม 2553 นี้ ผมขอหยุดอัพเดทสักพักนะครับ (ขอแอบหนีไปเที่ยวหน่อย อิอิ) ซึ่งกลับมา ก็จะมาบอกเรื่อง วิธี Save file งาน รูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานบทสุดท้ายนะครับ หลังจากวิธี Save File ก็จะเข้าสู่ workshop หรือ การทำภาพในรูปแบบต่างๆ กันแล้วครับ

Tuesday, August 10, 2010

Photoshop Multitouch

โอ้วบร๊ะเจ้า เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปกันไวจริงๆเลยนะครับ  เพิ่งจะคิดเล่นๆไปเองว่า เมื่อไรจะทำอะไรๆผ่านจอแบบหนังเรื่อง ironman บ้างนะ  แต่แล้ววันนี้ก็มาเจอจนได้ครับ ถึงจะไม่ใช่แต่ก็ใกล้เคียงกับ การทำ Photoshop ด้วยจอ Multitouch แต่ผมว่าคงต้องรออีกสักพักแหละครับ ตอนนี้ทำแบบเดิมไปก่อนดีกว่า เพราะดูแล้วยังเมื่อยเลย -0-

Sunday, August 8, 2010

บทที่ 7 Photoshop New file (การสร้างไฟล์ใหม่)

     บทที่ 7 Photoshop New file (การสร้างไฟล์ใหม่)

   เพื่อนๆหลายๆคนคงอยากรู้ใช่ไหมครับว่า ในหน้าสร้างไฟล์ใหม่ของ Photoshop นั้น เราสามารถกำหนดอะไรได้บ้างและทำได้อย่างไร เราไปดูวิธีสร้างไฟล์ใหม่กันเลยดีกว่าครับ

     1. คลิกเลือกเมนู File >> New (หรือกดปุ่มลุด Ctrl + N)


     2. ตั้งชื่อไฟล์ใหม่ในช่อง Name (ยังไม่ได้รีบตั้งก็ได้ครับ เอาไว้ไปตั้งเวลา Save file ก็ได้)  

     3. กำหนดขนาดของชิ้นงานโดย Width = ความกว้าง / Height = ความสูง ซึ่งใน Photoshop นั้นมี Format ขนาดงานที่มีการใช้บ่อยๆมาให้แล้ว โดยเลือกที่หัวข้อ Preset ครับ

     4. กำหนดคุณสมบัติของภาพและสี

         - Resolution คือความละเอียดของภาพ

               - ถ้าเป็นงานสำหรับ web page หรือ งานที่มีการแสดงผลบนจอภาพ แนะนำให้ใช้ที่ 72 pixels/inch ครับ เนื่องจากจอโดยทั่วไปสามารถแสดงความละเอียดได้ประมาณนี้ครับ

               - ถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์ต่างๆ แนะนำให้ใช้ที่ 300 Pixel/inch เพราะหากใช้น้อยๆภาพจะออกมาแตก หรือ ไม่สวยได้ครับ

         - Color Mode คือการเลือกโหมดสีของภาพ โดยทั่วไปเราจะใช้ RGB Color แบบ 8 Bit ครับ

     5. เลือกลักษณ์ของพื้นหลัง (Background)
  
         - White พื้นหลังเป็นสีขาว
         - Backgroung Color ให้พื้นหลังเป็น background ตามที่เรากำหนดใน Tools box
         - Transparest ปรับให้พื้นเป็นแบบโปร่งใส
   
     6. กำหนดโปรไฟล์สีและสัดส่วนพิกเซล (หมวดนี้โดยปกติแล้วไม่ต้องไปยุ่งกับมันก็ได้ครับ แค่รู้ไว้เฉยๆก็พอครับ)
       
         - Color Profile โปรไฟล์สีของภาพ สำหรับรูปภาพทั่วไปให้เราใช้แบบเดิมคือ sRGB....
         - Pixel Aspect Ratio สัดส่วนความกว้าง/สูงของ พิกเซล (Pixel) ปกติจะใช้ Square ครับ

     7. เมื่อเสร็จแล้วก็กด OK เพื่อสร้างไฟล์ได้เลยครับ


ดูบทความอื่นๆของ Photoshop คลิก
    

Saturday, August 7, 2010

บทที่ 6 Code Colors หรือ รหัสสี สำหรับใช้งานในบน Photoshop

Code Colors หรือ รหัสสี สำหรับใช้งานในบน Photoshop

    ปกติแล้วสีต่างๆ จะมี Code Colors หรือ รหัสสี ของตัวมันเองอยู่ด้วย ถ้าหากเกิดเพื่อนๆอยากจะใช้สีตามแบบที่มี โดยให้เหมือนเป๊ะ ก็คงต้องใช้รหัสสี เข้าช่วย เพราะหากตัดสินด้วยสายตา อาจจะไม่ได้สีที่ถูกต้องนะครับ

    โดยผมจะขออธิบายหลักการคำนวนง่ายๆของการคิด Code หรือ รหัสของแต่ละสี โดยมีหลักการดังนี้ครับ
  
     - แม่สีหลักคือ RGB (Red Green Blue) ซึ่งประกอบไปด้วย สีแดง,สีเขี่ยว และสีน้ำเงิน
     - ค่าของสีที่ใช้บนเว็บจะคิดโดยใช้เลขฐาน 16 มีค่าตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 15 โดยเรียงลับดับ 0 - 9 และ  A,B,C,D,E,F (10-15)

     - Code Color หรือ รหัสสีจะประกอบไปด้วยกลุ่มตัวเลข 2 หลัก (มีค่าตั้งแต่ 0 - 255) แทน 1 สี เรียงตามลำดับ RGB คือ แดง เขียว น้ำเงิน เช่น

     - FF0000  หมายถึง ใช้สีแดง FF (255) + สีเขียว 00 (0) + สีน้ำเงิน 00 (0) เมื่อทำการผสมออกแล้วจะได้เป็น  สีแดง

     - FFFF00 หมายถึง ใช้สีแดง FF (255) + สีเขียว FF (255) + สีน้ำเงิน 00 (0) เมื่อผสมกันจะได้เป็น สีเหลือง    เป็นต้น


ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องมานั่งคิดคำนวนผสมสีกันให้ปวดสมองหรอกครับ เพียงแค่ให้รู้ว่ารหัสสีต่างๆ มันมายังไงก็พอครับ ส่วนเรื่องรหัสสีต่างๆนั้น เพื่อนๆสามารถ เซพภาพนี้เก็บไว้ใช้ได้เลยครับผม

คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่ก่อนแล้วค่อยเซพนะครับ



ดูบทความอื่นๆของ Photoshop คลิก

Thursday, August 5, 2010

บทที่ 5 ประเภทของไฟล์ที่ใช้ใน Adobe Photoshop

ประเภทของไฟล์ที่ใช้ใน Adobe Photoshop



     ภาพกราฟฟิกที่เราสามารถนำมาใช้ในโปรแกรม Photoshop ได้ จะมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับงานที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปดังนี้ครับ



1. ภาพแบบ GIF (Graphic Interchange Format)
     ไฟล์ประเภท Gif จะนิยมนำมาใช้สร้างเป็นภาพ โลโก้(logo) , การ์ตูน , ตัวอักษร , ภาพเคลื่อนไหว โดยมีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดให้ฉากหลัง หรือพื้นที่บางส่วนโปร่งใสได้ หรือที่เรียกว่า (Transparent) แต่ก็มีข้อจำกัดตรงจำนวนสี ที่สามารถใช้ได้สูงสุดเดียง 256 สี โดยมีลักษณะเป็นสีทึบ ไม่มีการใส่ระดับสีมากนัก และมีของที่คมชัด ซึ่งเราสามารถจะกำหนดให้ภาพแสดงผลแบบ เบลอก่อนแล้วค่อยๆชัดขึ้นได้ (Interface)

    ภาพชนิด GIF นี้จะมีนามสกุลเป็น .GIF และมักมีขนาดเล็กทำให้โหลดเร็ว ซึ่งส่วนมากมักจะนำ .GIF มาใช้ทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบนเวปไซต์กันครับ



2. ภาพแบบ JPEG (Joint Photographic Expert Group)


   ภาพชนิดนี้สามารถแสดงสีได้มากถึง 16.7 ล้านสี (24 บิท) จึงเหมาะสมหรับภาพถ่ายจากกล้อง หรือ ภาพที่ใช้สีจำนวนมาก แต่ไม่สามารถทำให้โปร่งใส่ได้เหมือนภาพ GIF นอกจากนี้เรายังกำหนดขนาด หรือ บีบอัดภาพให้มีขนาดเล็กๆได้ (แต่คุณภาพก็จะน้อยลงด้วย) สำหรับรูปแบบไฟล์ JPEG นี้ ภาพที่ออกมาจะมีนามสกุลเป็น .jpg , .jpeg , .jfif หรือ .jpe


3. ภาพแบบ PNG (Porttable Network Graphic)


   เป็นรูปแบบไฟล์ภาพที่พัฒนาขึ้นมาใช้แทนรูปแบบไฟล์แบบ GIF โดยจะมีคุณสมบัติโปร่งใสได้เหมือน GIF และสามารถใช้สีได้มากเหมือน JPEG โดยจะมีให้

ปรับได้ 2 แบบคือ PNG-8 และ PNG-24

PNG-8 จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ .GIF คือทำโปร่งใส่ได้ มี 256 สี เหมาะกับทำภาพ Logo , การ์ตูน และภาพวาดลายเส้น

PNG-24 จะมีคุณสมบัติของทั้ง GIF และ JPEG คือโปร่งใสได้ และมี 16.7 ล้านสี เหมาะสำหรับภาพถ่าย
โปรแกรมที่ใช้สร้างภาพแบบ PNG ได้ คือ Adobe Firework CS3 ขึ้นไป เป็นต้น



4. TIFF (Tagged Image File Format)


เป็นไฟล์ภาพที่นิยมใช้งานทางด้านสิ่งพิมพ์ เช่น โปรแกรม Page Maker และ Adobe Indesign หรือ Photoshop เป็นต้น ซึ่งไฟล์นี้ใช้ได้ท้ังบนเครื่อง พีซี และ แมค ไฟล์ชนิดนี้จะได้ภาพที่มีคุณภาพสูงมาก แต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย หากทำการบีบอัดแบบ LZW และ ZIP จะไม่มีข้อมูลสูญเสียคุณภาพของภาพ แต่ถ้าเลือกบีบอัดแบบ JPG คุณภาพหรือความคมชัดของรูปก็จะลดลง สำหรับนามสกุลในไฟล์ประเภทนี้จะเป็น .tif หรือ .tiff


5. RAW File
   คือไฟล์ดิบข้อมูลดิบทั้งหมดที่กล้องดิจิตอลบันทึกไว้ ซึ่งภาพที่บันทึกจะเป็นแบบ .JPEG แต่จะมีขนาดใหญ่มาก กล้องแต่ละค่าย ก็จะมีการบันทึกไฟล์ RAW ที่ต่างกัน (นามสกุลของไฟล์ที่ได้ก็จะต่างกัน) และจะไม่สามารถเปิดดูในเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนภาพแบบทั่วไปได้ ต้องมีโปรแกรมเฉพาะที่มีคุณสมบัติสำหรับการเปิดไฟล์ RAW ของกล้องรุ่นนั้นๆเพื่อแก้ไข



ดูบทอื่นๆของ Photoshop คลิก

Monday, August 2, 2010

บทที่ 4 Photoshop กลุ่มเครื่องมือในกล่องเครื่องมือ (Tools Box) มีอะไรบ้าง ?

       จากกลุ่มเครื่องมือหลักที่ผมได้เคยบอกไปแล้วใน บทที่ 2 ส่วนประกอบของ Photoshop (Photoshop Workspace) ซึ่งคราวนี้ผมจะ มาแชร์ให้ทราบถึงกลุ่มเครื่องมือต่างๆในกล่องเครื่องมือ (Tools Box) เนื่องจากกล่องเครื่องมือนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งาน Adobe Photoshop โดยผมจะแนะนำไปทีละกลุ่มนะครับว่า เครื่องมือ แต่ละตัวทำหน้าที่อะไรกันบ้าง

เครื่องมือกลุ่มเลือกภาพ (Selection Tools)


MarqueeTools  - เป็นเครื่องมือสร้าง Selection หรือ ใช้ทำการเลือกขอบเขตบนภาพ



Polygonal Tool - เครื่องมือสร้าง Selection เลือกรูปภาพแบบเป็นเหลี่ยมมุม (สังเกตุจากตัว Icon ที่เครื่องมือ)
Lasso Tool - เครื่องมือสร้าง Selection แบบคลิกลากเลือกได้อิสระ
Magnetic Tool - ใช้สร้าง Selection แบบยึดเกาะไปตามแนวเรื่อยๆที่คลิกผ่าน


Quick Tool - สร้าง Selection ไปตามพื้นที่ ที่เราทำการเลือก (เวลาลากกดเมาส์ค้างนะครับ)
Magic Wand - สร้าง Selcetion แบบยึดตามสีที่ใกล้เคยงกัน (คลิกทีเดียวเลือกทั้งแถบถ้าสีใกล้เคียงกัน)


เครื่องมือกลุ่มตัดและแบ่งภาพ (Crop and Slice)

Crop Tool - เครื่องมือตัดภาพ หรือ Crop ภาพ เอาเฉพาะส่วนที่เราต้องการ
Slice Tool - ใช้แบ่งภาพออกเป็นชิ้นๆ (มีประโยชน์มากในการทำ website)
Slice Select Tool - ใช้สำหรับเลือกและแก้ไขภาพที่เราตัดโดยใช้เครื่องมือ Slice เอาไว้แล้ว


เครื่องมือกลุ่มตกแต่งและแก้ไขภาพ (Retouching Tools)


Spot Healing Brush - ใช้แก้ไขจุดบกพร่องหรือลบรอยสิ้วหรือรอยที่ไม่ต้องการบนภาพ
Healing Brush - ใช้แก้ไขภาพโดยการเลือกสีหรือภาพอื่นๆมาแต้มทับ
Path Tool - ใช้แก้ไขภาพ แบบตัดจากภาพอื่นมาทับแปะเอา
Red Eye Tool - ใช้แก้ไขภาพตาแดงที่เกิดจากการภ่ายภาพ


Clone Stamp Tool - ใช้ก๊อปปี้ (Copy) ภาพโดยการเลือกพื้นที่ (ALTค้าง + Click) จากภาพต้นฉบับไปสแตมป์ทับจุดที่จะแก้ไข
Pettern Stamp Tool - ใช้สแตมป์ลวดลายลงบนพื้นที่ ที่ต้องการ


Eraser Tool - ใช้ลบภาพ คิดซะว่าเป็นยางลบอ่ะครับ
Blackground Eraser Tool - ใช้ลบฉากหลังออกด้วยการเลือกสีที่ต้องการจะลบ
Magic Eraser - ใช้คลิกลบสีพื้นหลังแบบรวดเร็ว


Blur Tool - ใช้ระบายภาพให้เบลอในจุดที่เลือก
Sharpen Tool - ใช้ระบายภาพให้คมชัดในจุดที่เลือก
Smudge Tool - ใช้เกลี่ยสีในภาพให้กลมกลืนหรือใช้ลบขอบภาพ

Dodge Tool - ใช้สำหรับแก้ไขหรือเพิ่มความสว่างให้ภาพ
Burn Tool - ใช้สำหรับลดความสว่างให้ภาพ
Sponge Tool - ใช้สำหรับเพิ่มหรือลดความอิ่มตัวของสี


เครื่องมือกลุ่มการวาดภาพ (Painting Tools)

Brush Tool - หัวแปรงไว้ใช้สำหรับวาดภาพหรือระบายสี
Pencil Tool - ดินสอใช้ระบายสี หรือ ขีดเส้น (เส้นเล็กกว่า Brush)
Color Replacement Tool - เป็นพูดกันใช้ระบายสีแทนสีเดิม
Mixer Brush Tool - หัวแปรงสีสามารถผสมสีในภายได้


Gradient Tool - เครื่องมือเทสีลงในภาพแบบไล่ระดับสี
Paint Bucket Tool - เครื่องมือเทสีแบบสีเดียวเต็มๆ


Pen Tool - ใช้วาดกราฟิกแบบเส้น Path หรือ วาดแบบ Vector
(ตัวอื่นเป็นความสามารถต่างๆ ที่สามารถทำได้กับ Pen Tool ลองดูสัญลักษณ์ที่ภาพจะเข้าใจเลยครับ)





Type Tool - ใช้สำหรับการพิมพ์ข้อความ
Type Mask Tool - คือการพิมพ์ข้อความแบบโปร่งใส่โดยตัดภาพพื้นหลังมาเป็นรูปร่าง



เอาล่ะครับ คิดว่าคงจะครบแล้วสำหรับ Tool หลักๆของ Adobe Photoshop  ถ้าเพื่อนๆอยากรู้อะไรเพิ่มก็บอกกันได้เลยนะครับ  เรื่องเครื่องมือต่างๆใน Photoshop ก็จบสักทีนะครับ (กว่าจะจบ 3 วัน -*- เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา)   ถ้ายังไงลองฝึกฝนใช้กันดูนะครับ ต่อไปก็จะเป็นเรื่อง Basic อีกหน่อยแล้วก็จะเข้าการทำ Work Shop ต่างๆกันแล้วครับ

 ดูบทอื่นๆของ Photoshop คลิก

Saturday, July 31, 2010

บทที่ 3 อะไรอยู่ใน Menu Bar ? (Photoshop Menu Bar Inside)


บทที่ 3 เมนูบาร์ (Photoshop Menu Bar)

     เมนูบาร์ ประกอบไปด้วยกลุ่มคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้จัดการกับไฟล์ , ทำงานกับรูปภาพ และใช้ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมนะครับ (ตามที่เคยแนะนำไปแล้วในบทที่ 2 ส่วนประกอบของ Photoshop (Photoshop Workspace)) ซึ่งคราวนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ภายในเมนูบาร์ประกอบไปด้วยคำสั่งอะไรบ้าง และทำหน้าที่อะไรนะครับ 

1. File    ไฟล์ (File) คือส่วนรวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น การสร้างไฟล์ใหม่ , การเปิดภาพ , การปิดภาพ , การบันทึกไฟล์(Save file) , การนำไฟล์เข้า , นำไฟล์ออก และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไฟล์ภาพครับ



2. Edit    คือส่วนรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับการแก้ไขภาพในเบื้องต้นเช่นการปรับขนาดภาพ , และยังรวมถึงคำสั่งปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมเบื้องต้นอีกด้วยเช่น คำสั่ง Copy(ก๊อปปี้) , Paste(วาง) , Clear(ยกเลิกคำสั่ง) , การแก้ไขเครื่องมือ , และอื่นๆ (ใน Adobe Photoshop CS5 ได้เพิ่มคำสั่ง Puppet Warp เข้ามาในหมวดนี้ด้วยครับ)  


3. Image   คือส่วนรวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งรูปภาพเช่น ปรับสี , ปรับแสง , ขนาดของภาพงาน (Image Size) , ขนาดของชิ้นงานหรือเอกสารที่เราสร้างขึ้นมา (Canvas Size) , จัดการโหลดสีของภาพ ,การเปลี่ยนตำแหน่งภาพหรือการหมุนภาพ และอื่นๆ


4. Layer    คือส่วนรวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับ Layer (เลเยอร์) ทั้งการสร้างเลเยอร์ , การแปลงเลเยอร์ (Layer Style) , การปรับลูกเล่นให้เลเยอร์ และการจัดการเลเยอร์ในด้านต่างๆ



5. Select       คือส่วนรวมคำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection)  รวมทั้งการเลือกเลเยอร์ เช่นคำสั่ง All Layer เพื่อนำไปใช้กับการจัดการด้วยคำสั่งอื่นๆ เช่น ทำงานเลือกเพื่อเปลี่ยนสี , หรือเลือกเพื่อปรับแสง หรือใช้ Effect(เอฟเฟ็คต์) ต่างๆเป็นต้น


6. Filter     คืดส่วนรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับปรับแต่งและสร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษให้กับรูปภาพ เช่นการทำเบลอภาพเป็นต้น


7. View    ใช้ปรับแต่งการแสดงผลของส่วนประกอบต่างๆในหน้าจอของโปรแกรม เช่น Show (แสดงผล) (Ruler)ไม้บรรทัด หรือการเปิดคำสั่ง Snap(ยึดเกาะ) เป็นต้น


8. Window  คือเมนูคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผลของหน้าต่างภาพ ซึ่งในคำสั่งนี้เราสามารถสั่งให้ ซ่อนหรือแสดง เครื่องมือและพาเนลต่างๆที่เราใช้ทำงานได้ เช่นการเปิด/ปิด แถบเครื่องมือ , การจัดพื้นที่ทำงาน(Work Space) , หรือสั่งปิดเครื่องมือที่เราไม่ต้องการใช้งาน  (ในส่วนนี้สำคัญมากนะครับ เน้น)


9. Help มีไว้เพื่อเรียกดูคำอธิบายในการทำงานต่างๆของเครื่องมือหรือคำสั่งต่างๆ (เป็นภาษาอังกฤษ -0-)


และยังมีอีก 2 ส่วน ซึ่งจะมีเฉพาะในเวอร์ชั่น Extended นะครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

1. 3D  รวมคำสั่งที่ใช้กับภาพแบบ 3 มิติ

2. Analysis เครื่องมือวัดค่าและวิเคราะห์การทำงาน


Tip เล็กๆ    คำสั่งบางคำสั่งจะมี Hot Key (ปุ่มลัด) เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้งานได้เร็วขึ้น เช่นการสร้างปรับขนาดของภาพ Free Transform ให้กดปุ่ม Ctrl + T หรืออาจจะเป็นคำสั่งบันทึกไฟล์ (Save File) ให้กดปุ่ม Ctrl + S    ซึ่งสามารถดูรายละเอียดของปุ่มได้ตรงตำแหน่งดังภาพครับ

การใช้ Hot Key นี้จะทำให้เราทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นมากๆเลยครับ  ถ้ายังไงเพื่อนลองฝึกใช้กันดูนะครับ


ดูบทอื่นๆ คลิก 

Thursday, July 29, 2010

นอกเรื่องนิดๆ จิตแจ่มใส กล้องใหม่ FinePix S1600

     
     วันนี้ ขอนอกเรื่องนิดนึงนะครับ พอดีว่าวันนี้ ผม goopop ไปได้กล้องตัวหนึ่งมา เป็นกล่องตัวใหญ่ๆ หรือที่ชาวบ้านเค้าเรียกว่า กล้อง ดิจิตอลแบบโปรซุม รุ่น Fujifilm FinePix S1600 (ผมไม่แน่ใจนะว่าเรียกถูกไหม ท่านใดเป็นเซียนกล้องถ้าเห็นว่าผิดรอกวนบอกผมที) ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ให้นึกถึงกล้องของอนันดาในเรื่อง ซัตเตอร์ นั่นแหละคับ  

       ทีแรกว่าจะซื้อกล้อง Sumsung ที่ชมพู่เป็นพรีเซนเตอร์อ่ะ แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผมกับแฟนคิดอยู่นาน ก็ไปคว้าเจ้าตัวนี้มา แล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆนะครับ ถึงเจ้าตัวนี้ จะเป็นตัวเด็กๆ สำหรับมืออาชีพ แต่ว่า สำหรับมือใหม่อย่างผมแล้ว แหล่มเลยทีเดียว ยิ่งถ้านำไปเทียบกับกล้องตัวบางๆนะ ตัวนี้กินขาดครับ   ราคาที่ไปคว้ามา ก็อยู่ที่ 6,900 บาทครับ  

      สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่กำลังหากล้องมาใช้เก็บภาพ สักตัว แล้วก็เป็นมือสมัครเล่นในการถ่ายรูป หรือสนใจเล่นกล้องโปรซุมแต่ยังมือใหม่ ผมขอแนะนำเจ้า Fujifilm FinePix S1600 นี่เลยครับ  ลองจนโปรแล้วค่อยเล่นตัวแพงๆ ดีก่านะผมว่า




Review ความชัดของภาพ VDO จาก youtube ครับ

Wednesday, July 28, 2010

บทที่ 2 ส่วนประกอบของ Photoshop (Photoshop Workspace)

       สวัสดีครับ ผม Goopop เองนะครับ วันนี้ ก็จะมาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักกับ ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม Adobe Photoshop หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือ หน้าตาโปรแกรมเวลาเราจะใช้ทำงานนั่นแหละครับ ซึ่งจากตัวอย่างนี้ผมได้ใช้ Adobe Photoshop Version CS5 นะครับ และในครั้งนี้ผมจะขอแนะนำส่วนประกอบโดยรวมให้ทราบกันก่อนนะครับว่ามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นผมจะค่อยๆบอกอย่างละเอียดว่า อุปกรณ์ตัวไหนมีหน้าที่อะไรบ้าง และใช้ทำอะไรนะครับ ซึ่งในช่วงเดือนแรกนี้ คงจะเป็นเรื่องของการแนะนำอุปกรณ์ต่างๆของโปรแกรม Adobe Photoshop นะครับ เนื่องจากมีอุปกรณ์ค่อนข้างเยอะ ใครที่พอเป็นอยู่แล้วก็ ใจเย็นๆกันนิดนึงนะครับ

จากตัวอย่างภาพ ผมได้แยกสีไว้ให้แล้วนะครับเพื่อให้ดูได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้นครับ (หากมองไม่เห็น กดที่รูปเพื่อขยายครับ)

1. เมนูบาร์ (Menu Bar)  
  
   เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคำสั่งต่างๆที่ใช้จัดการกับไฟล์ , ทำงานกับรูปภาพ และใช้ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมนะครับ ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดๆตามลักษณะของงาน โดยแต่ละเมนูจะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ด้วย (ถ้าเพื่อนๆมีโปรแกรม Photoshop กันอยู่ลองคลิกตามดูนะครับ) ถ้านึกภาพไม่ออกลองนึกถึงโปรแกรม Word หรือ Excel ที่เราเคยใช้กันอยู่เป็นประจำนะครับ เช่นเวลาเราจะเซพงาน เราก็ต้องเลือกเมนู File แล้วเลือกเมนูย่อย Save (File >> Save) อย่างงี้เป็นต้นครับ ถ้าเพื่อนๆได้ลองสัมผัสดูก็จะพอเข้าใจครับ

2. แอพพลิเคชั่นบาร์ (Application Bar)

   ส่วนนี้จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่หลายๆคนใช้งานบ่อยๆเอาไว้ให้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge,หมุนพื้นที่ทำงาน(Work Space), ย่อ - ขยายภาพ และจัดเรียงหน้าต่างภาพ และ การจัดองค์ประกอบของเครื่องมืออีกด้วย

3.พื้นที่ทำงาน (Work Space)

   สำหรับในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้เราปรับรูปแบบการทำงานได้ตามความถนัด โดยจะมีให้เราเลือกหลายแบบ เช่นแบบใช้สำหรับทำ Web หรือใช้สำหรับทำ Animation หรือเราสามารถกำหนดเองก็ได้ว่าเราถนัดยังไง (เทคนิคง่ายๆ ก็คือเลือกเฉพาะอันที่เราใช้บ่อยๆหรือให้เหมาะทำงานที่เรากำลังทำอ่ะครับ จะได้หาง่ายใช้คล่อง) เพื่อนๆลองเปิดโปรแกรม Adobe Photoshop ขึ้นมาแล้วลองเลือกดูนะครับแล้วจะเข้าใจง่ายขึ้น (หาก Version ของเพื่อนๆไม่ใช่ CS5 รูปแบบอาจจะไม่เหมือนกันนะครับ ไม่ต้องตกใจ)

4. ออปชั่นบาร์ (Option Bar)

   ส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่างๆที่เราเลือกใช้นั่นเอง ซึ่งแต่ละเครื่องมือนั้นสามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย โดยเราจะต้องใช้ออปชั่นบาร์เป็นตัวกำหนด (หลายคนมักมองข้ามไปนะครับ จึงทำให้ใช้เครื่องมือได้ไม่เต็มที่) โดยออปชั่นบาร์ (Option Bar) ตัวนี้จะเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเครื่องมือใช้งานนะครับ โดยรายละเอียดต่างๆของเครื่องมือนั้นจะอยู่ที่ กล่องเครื่องมือ (Tools Box) ในหัวข้อที่ 9 นะครับ (ขออภัยครับที่เอาไปไว้ไกลไปหน่อย ^^;)

5. แถบบอกชื่อไฟล์

    ส่วนนี้ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เป็นตัวบอกว่าไฟล์ที่เรากำลังทำงานชื่ออะไรอยู่ และหากมีเครื่องหมายดอกจัน ขึ้นมาตรงมุมขวาของชื่อแสดงว่า ไฟล์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงและยังไม่ได้ทำการ Save นะครับ (การทำ Photoshop นั้น หัวใจสำคัญที่สุดคือการ Save รัวๆครับ ^^ แต่อย่าเพลินจน Save ทับจนงานเสียล่ะ อิอิ)

6.พาเนล (Panel)

    พาแนลเป็นหน้าต่าง (window) ย่อยๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือ คำสั่งที่เอาไว้คอยควบคุมการทำงานต่างๆของโปรแกรม ซึ่งใน Adobe Photoshop นี้ก็มีอยู่หลากหลาย Panel มาก แต่เพื่อนๆไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะปกติแล้ว Panel ต่างๆ เราจะค่อยๆเรียนรู้ และได้ใช้มันเอง อย่าไปฝืนจำหมดทุกตัวครับ เพราะเอาเขาจริง แต่ละงานเราใช้ไม่ครบทุกตัวหรอกครับ ซึ่ง Panel หลักๆที่เราต้องรู้ก็มี Layers นี่แหละครับ อันดับแรก ถือว่าเป็นหัวใจของ Photoshop เลย ถ้าเพื่อนๆเข้าใจการทำงานของ Layers แล้วละก็ เดี๋ยวอย่างอื่นก็ไหลตามมาครับ (การทำงานของ Layers จะมีลักษณะเหมือนแผ่นใส ครับ คือ แผ่นบนจะทับแผ่นล่างเสมอ พูดไปอาจไม่เห็นภาพ งั้นผมขอติดไว้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะมาบอกอย่างละเอียดอีกทีครับ ถ้าลืมเมลมาเตือนละกันนะครับ อิอิ)

7.พื้นหลังโปรแกรม

   อันนี้ผมก็ยังไม่แน่ใจนักว่ามีความสำคัญเช่นไร เพราะโดยปกติแล้วผมแค่ใช้เฉพาะตอนนำรูปมาวางเท่านั้นเองครับ เพื่อไม่ให้รูปไปซ้อนกับภาพที่ทำอยู่ และปรับสีเพื่อให้รูปที่ทำมาเข้ากับ Theme ของเวป (ถ้าเป็นงานของตัวผมเอง ก็ไม่ค่อยปรับเหมือนกันนะ อิอิ)

8. ภาพที่เรากำลังทำงานอยู่

9. กล่องเครื่องมือ (Toolbox)

    ทูลบ๊อกซ์ หรือ เจ้ากล่องเครื่องมือ นี่แหละครับ ที่สำคัญมากๆ โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานเช่นการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ โดยเครื่องมือเหล่านี้มีเป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ทาง Adobe Photoshop ก็ได้แบ่งเป็นหมวดไว้ให้แล้วโดยการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกันไว้ในช่องเดียวกัน (เพื่อนๆลองดูที่ช่องเครื่องมือแต่ละช่องนะครับ จะเห็นว่าบางช่องมี รูปสามเหลี่ยมเล็กๆที่มุมขวาล่าง ลองกดเม้าซ้ายค้างดูที่ช่องนั้นดูครับ จะเห็นว่ามีเครื่องมือซ่อนอยู๋ด้วย ^^) กล่องเครื่องมือนี้ จะทำงานเชื่อมกับ ออปชั่นบาร์ (Option Bar) ในข้อ 4 นะครับ (ใครลืมย้อนกลับไปดูโลด)

โอยเมื่อย เขียนซะยาวเลยครับ ผมอาจจะบอกไม่ละเอียดนักนะครับ เพราะว่าคิดได้ยังไงก็เขียนไปเลย หากเพื่อนๆคนไหนมีข้อสงสัย หรืออยากให้ผมอธิบายส่วนไหนอย่างละเอียด เมลมาได้เลยนะครับ หากไม่เห็นเมลผม Comment ไว้ก็ได้ครับ  สุดท้ายนี้ผมนำ VDO จาก Youtube มาให้เพื่อนๆได้ดูกันซึ่งเป็นของ Lynda.com ที่หลายๆคนคงจะเคยผ่านตากันมาบ้างนะครับ เพราะ Lynda นี่เป็นอาจารย์ของหลายๆคนก็ว่าได้ ผมก็ 1 ในนั้นครับ (ผมหลายอาจารย์ ฮ่า ฮ่า)

เชิญรับชมครับ (VDO เป็นภาษาอังกฤษนะครับ ใครฟังไม่ออกดูแต่ภาพเอาครับ หากอ่านที่ผมเขียนเอาไว้ รับรองเข้าใจแน่นอนครับ)



ดูบทอื่นๆ คลิก

Tuesday, July 27, 2010

บทที่ 1 รู้จักกับ Adobe Photoshop


      เพื่อนๆน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเจ้าโปรแกรมมหัศจรรย์อย่าง Adobe Photoshop โปรแกรมตกแต่งภาพที่เป็นที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก ซึ่งเจ้าตัวโปรแกรมนี้เป็นหากเพื่อนๆคนไหนทำได้คล่องแล้ว สามารถนำมาใช้ทำมาหากินได้ ทำเป็นอาชีพได้เลยทีเดียว และแน่นอนเจ้า Adobe Photoshop นี้เป็นหัวใจหลักของการ Design Website เลยก็ว่าได้ ซึ่งปัจจุบัน (วันที่ผมเขียนข้อความนี้ 27/7/2010) ก็ได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น CS5 กันไปแล้ว โดยผมขอนำ VDO แนะนำเครื่องมือเด่นๆ จาก Youtube มาให้เพื่อนๆได้ดูกันนะครับ สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ยังไม่รู้จักโปรแกรมตัวนี้ ผมเชื่อว่าหากได้ดู VDO สั้นๆนี้แล้วจะทำให้เข้าใจแน่นอนครับ (ตัว VDO เป็นภาษาอังกฤษนะครับ แต่ไม่ต้องใส่ใจครับ ดูแต่ภาพก็พอครับ) และในครั้งต่อไปผมจะเริ่มแนะนำการใช้ Photoshop ตั้งแต่พื้นฐานกันเลยนะครับ



ดูบทอื่นๆ คลิก

จุดเริ่มต้นของ GooYouKnow.blogpot.com

    
      สวัสดีครับ นี่ก็เป็นโพสแรกที่ผมได้เริ่มเขียนขึ้นมา ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของทุกๆสิ่งที่ผมตั้งใจจะทำ และหวังว่าเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านสิ่งที่ผมได้เขียนเอาไว้ จะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

      สิ่งที่ผมจะแบ่งปันให้เพื่อนๆได้รู้ ก็คือ วิธีการใช้ และ เทคนิดต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ทำ Web Design หรือ multimedia ต่างๆ เช่น Photoshop , Dreamweaver , Flash , After Affect หรือง่ายๆก็พวกโปรแกรมของตระกูล Adobe นั่นเอง  ซึ่งทั้งหมดที่ผมรู้ ผมจะพยายามนำให้บอกเล่าให้เพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาในที่แห่งนี้ได้รู้กัน ซึ่งผมจะค่อยๆโพสวันละ 1 - 2 โพสนะครับ โดยจะเริ่มตั้งแต่ พื้นฐานของ Photoshop แล้วค่อยตามด้วยโปรแกรมอื่นๆ 


 จุดประสงค์

 1 เพื่อแบ่งปันให้ทุกท่านที่สนใจ ได้พัฒนาและแชร์ประสบการณ์ความรู้กันเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการทำ Web Design

 2. เพื่อพัฒนาตัวผมเอง เนื่องจากทุกเรื่องที่ผมลงนั้น จะมาจากการลองทำด้วยตัวเอง และ พิสูจน์แล้วว่าสำเร็จและสามารถใช้ได้จริง ซึ่งผมจะพยายามใช้โปรแกรมตระกูล Adobe รุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อให้เทคนิคที่ใช้ทำออกมาดูทันสมัยและสามารถทำได้จริงนะครับ ^^